วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สังคมมนุษย์

สังคมมนุษย์

          สังคม หมายถึง การอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะอย่างถาวรของมนุษย์ ในสังคมนั้นมีบุคคลแต่ละคนเป็นส่วนประกอบรวมตัวกันขึ้น บุคคลแต่ละคนนี้นับว่าเป็นหน่วยเล็กที่สุดที่ประกอบขึ้นเป็นสังคม เป็นหน่วยสุดท้ายที่แยกให้เล็กลงไปอีกไม่ได้แล้ว การมาอยู่รวมกันเป็น
หมู่คณะกลุ่มก้อนและเป็นการอยู่รวมกันอย่างถาวรได้ก็จะต้องมีสิ่งที่เป็นตัวเชื่อมโยงที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น ทำให้มนุษย์อยู่รวมกันอย่างสงบ มีระเบียบเรียบร้อย กลายเป็นสังคม (society)


ลักษณะของสังคมมนุษย์

          วิถีการดำเนินชีวิตในสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือในอดีตเป็นยุคของสังคมเกษตรกรรม การใช้ชีวิตของคนในสังคมเป็นแบบเรียบง่าย โดยปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ครอบครัวเป็นแบบครอบครัวใหญ่ และเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของทุกคน ครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างเป็นปึกแผ่น ให้ความสำคัญกับผู้อาวุโสของชุมชน เมื่อสังคมได้ขยายตัวใหญ่ขึ้น ลักษณะของ สังคมได้เปลี่ยนเป็นสังคมอุตสาหกรรม วิถีชีวิตของคนได้เปลี่ยนจากเรียบง่ายมาเป็นชีวิตที่รีบเร่ง ให้ความสำคัญกับชีวิตการทำงาน และเครื่องจักรทุกอย่างจำกัดด้วยเวลา ยึดถือปัจเจกชนมากกว่า ส่วนรวม แบ่งสังคมออกเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภค ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวเริ่มลดน้อยลง ให้ความสำคัญของผลประโยชน์ที่พึ่งจะได้จากการทำงานมากกว่าจิตใจ การแข่งขัน มีมากขึ้น สังคมเมืองเป็นสังคมเมืองใหญ่ มีประชากรหนาแน่น ขาดแคลนสาธารณูปโภคปัญหายาเสพติด ปัญหาการจราจร ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ
          เริ่มสังคมยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ บทบาทของสังคมเปลี่ยนแปลงไป อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าของการพัฒนาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม ความก้าวหน้า ของการพัฒนาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี การสื่อสารโทรคมนาคมทำให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ตี่นตัวในอันที่จะปรับตัวเพื่อรองรับสิ่งใหม่ๆ สังคมได้มีการติดต่อสื่อสารถึงกันสะดวกและรวดเร็ว ขึ้น มีการกระจายบริหารไปสู่ท้องถิ่น มีการร่วมกิจกรรมต่างๆ อย่างใกล้ชิด ช่องว่างของสังคมลดน้อยลง สังคมเมืองและชนบทจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยแต่ละชุมชนจะมีความเข้มแข็ง มากขึ้น



ลักษณะของสังคม 

1. มีอาณาบริเวณเป็นที่รู้กันว่า มีขอบเขตแค่ไหน เพียงใด 
2. อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นสมาชิกของสังคมเดียวกัน รู้ว่าใครเป็นพวก ของตนหรือใครไม่ใช่พวกของตน 
3. แบ่งงานกันทำตามความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน ร่วมมือช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน 
4. มีความคิด ความเชื่อ บรรทัดฐานค่านิยมคล้ายคลึงกัน เพราะได้รับการ อบรมสั่งสอนขัดเกลามาอย่างเดียวกัน


ลักษณะที่สำคัญของสังคม 

1. มีอาณาเขต บริเวณที่อยู่อาศัยที่แน่นอน
2. ประกอบด้วยกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกันอย่างถาวรทุกเพศทุกวัย
3. มีความสัมพันธ์ทางสังคม และพึ่งพาอาศัยกัน
4. เป็นกลุ่มคนที่มีอิสระในการประกอบอาชีพและเลี้ยงตัวเองได้
5. กลุ่มดำเนินไปเรื่อย ๆ ดำรงอยู่และสืบทอดโดยอนุชนรุ่นหลัง
6. มีวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตเด่นชัดเป็นของตนเอง

สาเหตุที่มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคม 

1. เพื่อสนองความต้องการพื้นฐาน ได้แก่
     - ความต้องการทางกายภาพ เช่น ต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต
     - ความต้องการทางชีวภาพ เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค
     - ความต้องการทางจิตใจ เช่น ความรัก ความอบอุ่น
     - ความต้องการทางสังคม เช่น ต้องการเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม อันทำให้เกิดอำนาจ เกียรติยศชื่อเสียง
2. เพื่อทำให้มีความเป็นมนุษย์สมบูรณ์
3. เพื่อสร้างความเจริญให้กับตนเองและสังคม

ลักษณะที่มนุษย์เหมือนกับสัตว์อื่น 

1. ต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมทั้งทางชีวภาพ และทางธรรมชาติเพื่อบำบัดความต้องการต่าง ๆ
2. มีลักษณะคล้ายผู้ให้กำเนิดหรือบรรพบุรุษ
3. สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ ผู้ที่ปรับตัวไม่ได้จึงมักเสียเปรียบ
4. มีความสามารถแสวงหา หรือค้นคว้าวิธีการต่อสู้เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนต้องการ
5. ต้องการอาหาร น้ำ อากาศ และที่อยู่อาศัย
6. มีความสามารถในการสืบพันธ์ หรือสร้างสมาชิกใหม่



หน้าที่ของสังคมมนุษย์ 

1. เสริมสร้างและผลิตสมาชิกใหม่ ได้แก่ ธำรงรักษาชีวิตมนุษย์ใน สังคม ให้สืบต่อกันโดยไม่ขาดสาย และผลิตสมาชิกใหม่แทนสมาชิกเก่าที่สิ้นชีวิตไป
2. ผลิตแจกแจงสินค้าและบริการ ได้แก่ ผลิต จ่ายแจก และบริการเครื่อง อุปโภคแก่สมาชิกของสังคม 
3. อบรมสั่งสอนขัดเกลาสมาชิกของสังคมให้เรียนรู้ระเบียบของสังคม ได้แก่ สังคมจะต้องอบรมสั่งสอนและขัดเกลาสมาชิกใหม่ ให้เรียนรู้ระบบระเบียบ กฎเกณฑ์ของสมาชิกนั้น ๆ 
4. ดำรงรักษาไว้ซึ่งระเบียบกฎหมายของสังคม ได้แก่ การที่สังคมต้องจัด เจ้าหน้าที่ควบคุม ดูแล ลงโทษผู้ละเมิดระเบียบ


ลักษณะของสังคม 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น